การจัดการโมดูล

การเพิ่มโมดูลสามารถทำได้โดยการกดปุ่มเครื่องหมาย + หรือปุ่มสร้างโมดูลใหม่

จากนั้นหน้า Popup จะเด้งขึ้นมาให้กรอกข้อมูล

  • ชื่อโมดูล - ข้อความที่กรอกในช่องนี้จะไปแสดงในส่วนหัวของกล่องโมดูล
  • ความกว้าง - มีให้เลือก 25% 50% 75% และ 100%
  • ชนิดโมดูล - มีให้เลือกดังนี้
    • โมดูลปุ่มกด - ใช่เปลี่ยนค่าของข้อมูลโดยใช้ปุ่ม
    • โมดูลสวิตซ์ - ใช้เปลี่ยนค่าของข้อมูลโดยใช้สถานะ
    • โมดูลตัวเลือก - ใช้เปลี่ยนค่าข้อมูลตามที่ผู้ใช้กดเลือก
    • โมดูลตาราง - ใช้แสดงผลข้อมูลที่มีรูปแบบเหมือนกัน
    • โมดูลกราฟ - ใช้แสดงผลข้อมูลที่มีรูปแบบเหมือนกันและเป็นตัวเลข
    • โมดูลข้อความ - ใช้แสดงผลข้อมูลที่เป็นข้อความหรือตัวเลข
    • โมดูลสถานะ - ใช้เปรียบเทียบค่าเพื่อแสดงสถานะออกมาในรูปแบบจริง หรือเท็จ

การแก้ไขโมดูล

นำเม้าส์เข้าไปในพื้นที่ของโมดูล แล้วกดรูปเฟือง

การลบโมดูล

นำเม้าส์เข้าไปในพื้นที่โมดูล แล้วกดรูปถังขยะ

ข้อแนะนำการจัดวางโมดูล

  • เนื่องจากโมดูลยังไม่สามารถย้ายได้ ดังนั้นควรวางแผนก่อนเพิ่มโมดูล
  • ขนาดหน้าจอมีผลต่อขนาดของโมดูล หากใช้งานบนมือถือ ทุกโมดูจะมีขนาดเป็น 100% แต่หากใช้งานบนแท๊ปเล็ต ขนาดจะเพิ่มเป็น 2 เท่า แต่ไม่เกิน 100% ของที่ได้ตั้งค่าไว้
  • เนื่องจากขนาดที่เพิ่มเป็น 2 เท่า หากจัดวางโมดูล 25% ไว้ใกล้กับ 75% ผลคือในหน้าจอแท๊ปเล็ตโมดูล 25% จะขยายเป็น 50% และโมดูล 75% จะขยายเป็น 100% ผลที่ได้คือโมดูล 75% จะตกลงมาข้างล่าง ทำให้ข้าง ๆ โมดูล 25% เหลือว่างอยู่ 50%
  • ไม่ควรสร้างโมดูลที่ใช้ข้อมูลเดียวกัน เช่น สร้างโมดูลสวิตซ์ร่วมกับโมดูลสถานะโดยใช้ ที่อยู่ (Path) เดียวกัน เพราะโมดูลสวิตซ์หากมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ตัวสวิตซ์ก็จเปลี่ยนสถานะให้ตรงกับความเป็นจริงอยู่แล้ว เช่น หากมีการเปลี่ยนสถานะสวิตซ์ที่หน้าเพจอื่น หน้าเพจที่ถูกเปิดอยู่ตัวสวิตซ์ก็จะเปลี่ยนสถานะด้วย ดังนั้นการสร้างโมดูลเรียกข้อมูลซ้ำ ๆ จะทำให้เปลืองแบนวิธเนื่องจาก Firebase มีแบนวิธให้ใช้ฟรีที่จำกัด

results matching ""

    No results matching ""